วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การมีแฟนในวัยเรียน

Unknown | 18:53

วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Form

Unknown | 20:09

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

Calendar

Unknown | 00:23

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความเป็นมาของระเบียบชุดนักเรียนไทย อังกฤษ และอเมริกา และข้อถกเถียงสากล

Unknown | 03:57

ความเป็นมาของระเบียบชุดนักเรียนไทย อังกฤษ และอเมริกา และข้อถกเถียงสากล

















ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ดูเหมือนสังคมไทยจะมีความตื่นตัวมากขึ้นต่อระบบการศึกษาในประเทศ ตั้งแต่เรื่องเนื้อหาแบบเรียน ไปจนถึงเรื่องกฎระเบียบ สังคมไทยเองก็มีการรับรู้และกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อย่างมาก อาจเพราะด้วยยุคข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว ทำให้ประเด็นเล็กๆสามารถถูกจุดให้ติดได้และลุกลามดังไฟทุ่ง
ประเด็นที่ร้อนแรงที่สุดตอนนี้คงหนีไม่พ้นประเด็นชุดนักเรียน-นักศึกษา ที่มีการถกเถียงกันมากมายระหว่างฝั่งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บทความนี้แปลและเรียบเรียงขึ้นจากส่วนหนึ่งในเปเปอร์ของผู้เขียนเรื่อง School Uniform in Thailand; comparing to British and American เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ที่มาของชุดนักเรียนในประเทศไทย และต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่หลายคนมักอ้างถึงเป็นประจำเพื่อเปรียบเทียบและเพื่อให้เห็นการพัฒนาการ ของสังคม ที่อำนาจผ่านกฎระเบียบพยายามเข้าแทรกซึมผ่านเครื่องแบบในระบบการศึกษา
ความเป็นมาของระเบียบชุดนักเรียนไทย
ชุดนักเรียนของไทยเริ่มมีขึ้นครั้งแรกในสมัยการวางรากฐานการศึกษาไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 ราว พ.ศ. 2428 โดยเครื่องแบบนักเรียนในยุคแรกประกอบไปไปด้วย 
1. หมวกฟาง มีผ้าพันหมวกสีตามสีประจำโรงเรียน ติดอักษรย่อนามโรงเรียนที่หน้าหมวก
2. เสื้อราชปะแตนสีขาว ดุมทอง
3. กางเกงไทย (กางเกงขาสั้นอย่างที่นักเรียนใช้อยู่ในปัจจุบัน)
4. ถุงเท้าขาว หรือดำ
5. รองเท้าดำ

ทั้งนี้ ถุงเท้า รองเท้า ในขณะนั้นเป็นของราคาแพง จึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีทุกคน ซึ่งส่วนใหญ่ไม่มีใช้[1]

เอกสารข้อกำหนดอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการแต่งกายเครื่องแบบนักเรียนเกิดขึ้นภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง2475 ในสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2482 และตามด้วย ระเบียบกระทรวงธรรมการ ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2482 ซึ่งกำหนดรายละเอียดยิบย่อยมากมายตั้งแต่หัว(หมวก)จรด(รอง)เท้า ทั้งของชายและหญิง แยกประเภทโรงเรียน[2]
ข้อกำหนดเรื่องเครื่องแบบนี้ถูกเปลี่ยนแปลงหลายครั้งตามสถานการณ์ เช่นในช่วงสงครามโลก เสื้อผ้าขาดแคลน จึงต้องลดกฎระเบียบลงให้น้อยลง

ในปัจจุบันประเทศไทยได้ใช้กฎระเบียบการแต่งกาย ตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. 2551[3] ประกอบกับระเบียบปฏิบัติของโรงเรียนต่าง ๆ เอง
ความเป็นมาของชุดเครื่องแบบนักเรียนในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา
เครื่องแบบนักเรียนในประเทศอังกฤษเกิดขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยของพระเจ้าเฮนรี่ที่8[4] (พ.ศ.2034-2090)โดยเครื่องแบบนักเรียนในยุคแรกนั้นไม่ได้ถูกใส่โดยนักเรียนชั้นสูง หากแต่เป็นนักเรียนยากจนที่ใส่ เพื่อเป็นการแยกระหว่างนักเรียนจากโรงเรียนยากไร้กับโรงเรียนอื่น อีกกว่า300ปีต่อมา ที่นักเรียนในโรงเรียนรัฐบาลเริ่มมีการใส่เครื่องแบบ โดยเครื่องแบบในสมัยนั้นถูกเรียกว่า “bluecoat” หรือ “เสื้อคลุมสีน้ำเงิน” เพราะเครื่องแบบหลักนั้นคือเสื้อโค๊ทยาวคล้ายแจ๊กเกตสีน้ำเงิน ซึ่งสีน้ำเงินเป็นสีที่ถูกที่สุดในการย้อมผ้าในขณะนั้นและยังเป็นสีซึ่งสื่อถึงความอ่อนน้อมถ่อมตนอีกด้วย

ในปี 1870 มีการออกระเบียบการศึกษาชั้นต้น 1870 (Elementary Education Act 1870) ทำให้การศึกษาชั้นต้นมีการแพร่หลายในประเทศอังกฤษและเวลส์ เครื่องแบบนักเรียนได้รับความนิยมและแพร่หลายขึ้นมากขึ้น นักเรียนทุกคนมีเครื่องแบบเป็นของตัวเอง เครื่องแบบนักเรียนในยุค 1920’s[5] ประกอบไปได้เสื้อสูทกั๊ก(blazer) เนคไท และกางเกงขายาวสุภาพ
ในปี 1960 ความนิยมของเครื่องแต่งกายชุดนักเรียนเริ่มเสื่อมลง เนื่องจากการปฎิวัติสังคม (social revolution) หลังสงครามโลกครั้งที่2 เครื่องแบบยิบย่อยที่มีราคาแพงก็ไม่เป็นที่นิยมอีกต่อไป บวกกับการปฎิวัติของหนุ่มสาว ในยุค60 แนวคิดทางชนชั้นและระเบียบที่กักกันเสรีภาพถูกท้าทายโดยคนหนุ่มสาว โรงเรียนหลายแห่งยกเลิกเครื่องแบบนักเรียนลงในที่สุด[6]

ในสหรัฐอเมริกา โรงเรียนรัฐส่วนใหญ่ไม่มีการบังคับให้ใส่เครื่องแบบนักเรียน หากจะมีเพียงกฎเล็กๆน้อยๆหรือ dress codes เช่น การกำหนดความยาวของกระโปรงไม่ให้สั้นเกินควร หรือเรื่องรอยสักที่ไม่เหมาะสม (รอยสักรูปโป๊ หรือสัญลักษณ์แก๊ง) อย่างไรก็ดีในช่วงปีที่ผ่านมาอ้างอิงจาก National Association of Elementary School Principals (NAESP) โรงเรียนหลายแห่งในสหรัฐฯมีการกำหนดเครื่องแบบเพิ่มมากขึ้น จาก3% ในปี 1997 เป็น 21% ในปี 2000[7] และในปี 2009 มีโรงเรียนถึง 21รัฐ ที่มีการกำหนดให้นักเรียนสวมเครื่องแบบ[8]

อย่างไรก็ดี ทั้งสหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ไม่ปรากฎว่ามีกฎข้อบังคับในการแต่งกายในระดับอุดมศึกษา(มหาวิทยาลัย) แต่อย่างใด
ข้อถกเถียงและข้อโต้แย้ง
ข้อถกเถียงเรื่องเครื่องแบบนักเรียนในสหรัฐอเมริกาเริ่มมีขึ้นในราวปี 1980 โดยมีการยกเหตุผลว่าการมีเครื่องแบบนักเรียนนั้นเป็นการลิดรอนกักกันความคิดแบบปัจเจกและเสรีภาพในการแสดงออก ถึงแม้ว่าฝ่ายสนับสนุนจะยกเหตุผลว่าการมีอยู่ของเครื่องแบบนั้นจะทำให้ผู้ปกครองและตัวนักเรียนลดแรงกดดันจากค่านิยมแฟชั่นและเป็นการประหยัดเงินในการหาซื้อเสื้อผ้าใหม่ๆ
ฝ่ายที่สนับสนุนการใช้เครื่องแบบนั้นอ้างว่าการใส่เครื่องแบบ จะทำให้ผู้เรียนสนใจกับการเรียนมากกว่ามัวแต่สนใจชุดที่ใส่ และการทำงานเมื่อเรียนจบหลายแห่งก็มีเครื่องแบบของบริษัทที่บังคับ การมีเครื่องแบบก็จะทำให้นักเรียนได้เตรียมตัวไปสู่การทำงานในอนาคต ทั้งนี้ความสำคัญของเครื่องแบบอีกอย่างหนึ่งคือมันจะทำให้ความรุนแรงในสังคมลดลงไปด้วย เช่นกลุ่มอันธพาลก็จะไม่สามารถแยกแยะเด็กออกได้ว่าอยู่กลุ่มที่เป็นอริกันหรือปล่าว (ในอเมริกานั้นกลุ่มแก๊งค์จะมีชุดเสื้อผ้าประจำกลุ่ม)[9]
อย่างไรก็ดี ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการใส่ชุดนักเรียนนั้นให้เหตุผลว่า มันเป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิเหนือร่างกายของเด็กที่จะเลือกว่าสิ่งไหนเหมาะสมและน่าสนใจต่อเขา ทั้งนี้การต้องซื้อเครื่องแบบนักเรียนหาใช่การประหยัดไม่ หากแต่เป็นการเพิ่มภาระโดยใช่เหตุ โดยเฉพาะกับครอบครัวที่มีลูกหลายคน การอ้างเรื่องลดความรุนแรงของกลุ่มอันธพาลนั้นก็เหลวไหล เพราะไม่ว่าจะมีหรือไม่มีเครื่องแบบนั้น อันธพาลก็พร้อมที่จะทำร้ายหรือใช้ความรุนแรงได้ทุกเมื่ออยู่ดี
จะเห็นได้ชัดว่าหากมาเปรียบเทียบกับประเทศไทย ข้อถกเถียงเหล่านี้ ก็ยังคงวนเวียนอยู่ในหน้าสื่อสังคมออนไลน์ทุกวัน หากแต่จะมีเรื่องเกียรติศักดิ์ศรีพ่วงท้ายเข้ามาด้วย ฝ่ายสนับสนุนมักยกประเด็นชุดนักเรียน-นักศึกษาพระราชทาน หรือความภาคภูมิใจต่อสถาบันการศึกษา โดยที่ไม่สนใจประเด็นสากลอย่างสิทธิเสรีภาพเหนือร่างกาย และการแสดงออก ประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายก็เป็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน โดยฝ่ายสนับสนุนมักจะเป็นบุคคลจำพวกที่ไม่เดือดเนื้อร้อนกระเป๋าต่อค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งเครื่องแบบอันมีเกียรติ แต่ไม่เคยนึกถึงอีกหลายคนที่เดือดร้อนต่อภาระนี้ ดังจะเห็นได้จากข่าวที่ผู้ปกครองหลายคนแห่กันเข้าโรงรับจำนำในช่วงก่อนเปิดเทอม เพื่อหาซื้ออุปกรณ์และชุดเครื่องแบบให้ลูกหลาน[10]
การถกเถียงเรื่องการมีอยู่ของเครื่องแบบนักเรียนนั้นมีมาอย่างต่อเนื่องทั้งในสหรัฐอเมริกาและไทย มันได้ก้าวล่วงและส่งผลสะเทือนตั้งแต่ปัญหาความปลอดภัยของเด็กไปจนถึงเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคล ประเด็นสิทธิและสาธารณประโยชน์ถูกยกมาถกเถียงกันมากที่สุดในสหรัฐฯ ต่างจากในไทยที่มักยกเรื่องเกียรติภูมิและความภาคภูมิใจที่ฟังดูเป็นเรื่องที่ตื้นเขินพอสมควรมาเป็นประเด็นหลักของฝ่ายสนับสนุน





ชุดนักเรียนไทย ในสายตาคนญี่ปุ่น

Unknown | 03:40


ชุดนักเรียนไทย ในสายตาคนญี่ปุ่น

















RIBBON nante musun jattari shite kawai-nndakorega
ผูกโบว์ สีต่างๆ น่ารักมากกก

yatai no nanika yoku wakaranai mono. gakkou kaeri ni tomodachi to tabearuku
อะไรซักอย่างจากรถเข็น ไม่ค่อยรู้จัก. กินพลางเดินกลับจากโรงเรียนกับเพื่อน (สงสัยจะเป็นลูกชิ้นจ้ะ ทำไมไม่เดาว่าดังโงะประเทศไทยกันนะ)
yatai no COCONUT MILK
กะทิซื้อจากรถเข็น (ทีงี้เดาว่าเป็นกะทิ โอ้ว เด็กไทยซดกะทิกันเพียวๆ
kaodachi wa kanari hakkiri shiteiru. angai ni irojiro no ko mo ooizo
หน้าตาน่ารักเกลี้ยงเกลา(เดา) มีเด็กที่ผิวขาวเยอะกว่าที่คิดนะเนี่ย
minna kuro kami
ทุกคน ผมสีดำ
SKIRT wa hize jou desu yone
กระโปรงยาวถึงเข่า เน้อ
omoresagatta RIBBON kawayusu
โบว์ที่ห้อยตรงเสื้อ น่าร้าก
ushiro wa SAILOR ppoi kanji
ด้านหลังให้อารมณ์แบบกะลาสี
suashi haa haa..
เท้าเปล่า หะๆ (- -??)
ROUGH na SANDAL. chanto missetsu ni kawagutsu no ko mo iru.
รองเท้าแตะแบบเรียบ ๆ แต่เด็กที่ใส่รองเท้าหนัง ถุงเท้าพับสามทบก็มีอยู่นะ (สงสัยจะไปเจอเด็กใส่แตะเดินหลังเลิกเรียน)





ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน

Unknown | 02:23
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน 




ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ
ว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน
พ.ศ. ๒๕๕๑
                       

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ และมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. ๒๕๕๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑  ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ. ๒๕๕๑

ข้อ ๒[๑]  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ ๓  ให้ยกเลิก
(๑) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๒๗
(๒) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนและนักศึกษา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐
(๓) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนและนักศึกษา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๒
(๔) ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียนและนักศึกษา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๖
บรรดาระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งอื่นใดในส่วนที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน

ข้อ ๔  ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่นักเรียนผู้ซึ่งศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ เว้นแต่สถานศึกษานั้นจะมีกฎหมายกำหนดเรื่องการแต่งกายไว้เป็นการเฉพาะแล้ว

ข้อ ๕  ลักษณะของเครื่องแบบนักเรียนแบ่งตามระดับและประเภทการศึกษา ดังนี้
(๑) เครื่องแบบนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา
(๒) เครื่องแบบนักเรียนระดับประถมศึกษา
(๓) เครื่องแบบนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
(๔) เครื่องแบบนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทสามัญศึกษา
(๕) เครื่องแบบนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทอาชีพ และระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา
(๖) เครื่องแบบนักเรียนสำหรับสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
(๗) เครื่องแบบนักเรียนซึ่งนับถือศาสนาอิสลามในสถานศึกษาอื่นนอกจากสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลาม

ข้อ ๖  เครื่องแบบนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา
นักเรียนชาย
(๑) เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต หรือคอปกกลม แขนสั้น
(๒) เครื่องหมาย ใช้ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา บนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม โดยสถานศึกษารัฐใช้สีน้ำเงิน สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
(๓) กางเกง ผ้าสีดำ สีน้ำเงิน สีกรมท่าหรือสีแดง ขาสั้น
(๔) รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีดำ แบบหุ้มส้นหุ้มปลายเท้า ชนิดผูกหรือมีสายรัดหลังเท้า
(๕) ถุงเท้า สั้น สีขาว
นักเรียนหญิง
(๑) เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต หรือคอปกกลม แขนสั้น
(๒) เครื่องหมาย ใช้ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา บนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม โดยสถานศึกษารัฐบาลใช้สีน้ำเงิน สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
(๓) กระโปรง ผ้าสีดำ สีน้ำเงิน สีกรมท่าหรือสีแดง แบบจีบรูดรอบตัว หรือยาวเพียงใต้เข่า แบบจีบทบรอบเอว หรือพับเป็นจีบข้างละสามจีบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อสวมแล้วชายกระโปรงคลุมเข่า
(๔) รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีดำ แบบหุ้มส้นหุ้มปลายเท้า ชนิดผูก หรือมีสายรัดหลังเท้า
(๕) ถุงเท้า สั้น สีขาว

ข้อ ๗  เครื่องแบบนักเรียนระดับประถมศึกษา
นักเรียนชาย
(๑) เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต เชิ้ตโปโล หรือคอปกกลม แขนสั้น
(๒) เครื่องหมาย ใช้ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวาบนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม โดยสถานศึกษารัฐใช้สีน้ำเงิน สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
(๓) กางเกง ผ้าสีดำ สีน้ำเงิน สีกรมท่า หรือสีกากี แบบสุภาพ ขาสั้น
(๔) เข็มขัด หนัง สีดำหรือสีน้ำตาล หัวเข็มขัดเป็นโลหะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าชนิดหัวกลัด นักเรียนที่เป็นลูกเสือจะใช้เข็มขัดลูกเสือแทนก็ได้
(๕) รองเท้า หนังหรือผ้าใบ สีดำหรือสีน้ำตาล แบบหุ้มส้นชนิดผูก
(๖) ถุงเท้า สั้น สีขาวหรือสีน้ำตาล
นักเรียนหญิง
(๑) เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต คอบัว หรือคอปกกลาสีผูกด้วยผ้าผูกคอชายสามเหลี่ยมเงื่อนกลาสี สีดำหรือสีกรมท่า แขนสั้น
(๒) เครื่องหมาย ใช้ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา บนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม โดยสถานศึกษารัฐใช้สีน้ำเงิน สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
(๓) กระโปรง ผ้าสีดำหรือสีกรมท่า แบบจีบรูดรอบตัวหรือจีบทบรอบเอวหรือพับเป็นจีบข้างละสามจีบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อสวมแล้วชายกระโปรงคลุมเข่า
(๔) รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีดำ แบบหุ้มส้นหุ้มปลายเท้า มีสายรัดหลังเท้า
(๕) ถุงเท้า สั้น สีขาว

ข้อ ๘  เครื่องแบบนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
นักเรียนชาย
(๑) เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต แขนสั้น
(๒) เครื่องหมาย ใช้ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา บนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม โดยสถานศึกษารัฐใช้สีน้ำเงิน สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
(๓) กางเกง ผ้าสีดำ สีน้ำเงิน สีกรมท่าหรือสีกากี แบบสุภาพ ขาสั้น
(๔) เข็มขัด หนัง สีดำหรือสีน้ำตาล หัวเข็มขัดเป็นโลหะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าชนิดหัวกลัด นักเรียนที่เป็นลูกเสือจะใช้เข็มขัดลูกเสือแทนก็ได้
(๕) รองเท้า หนังหรือผ้าใบ สีดำหรือสีน้ำตาล แบบหุ้มส้นชนิดผูก
(๖) ถุงเท้า สั้น สีขาวหรือสีน้ำตาล
นักเรียนหญิง
(๑) เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอปกกลาสีผูกด้วยผ้าผูกคอชายสามเหลี่ยมเงื่อนกลาสีสีดำหรือสีกรมท่า แขนสั้น
(๒) เครื่องหมาย ใช้ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา บนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม โดยสถานศึกษารัฐใช้สีน้ำเงิน สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
(๓) กระโปรง ผ้าสีดำหรือสีกรมท่า แบบสุภาพ พับเป็นจีบข้างละสามจีบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อสวมแล้วชายกระโปรงคลุมเข่า
(๔) รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีดำ แบบหุ้มส้นหุ้มปลายเท้า มีสายรัดหลังเท้า
(๕) ถุงเท้า สั้น สีขาว

ข้อ ๙  เครื่องแบบนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทสามัญศึกษา
นักเรียนชาย
(๑) เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต แขนสั้น
(๒) เครื่องหมาย ใช้ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา บนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม โดยสถานศึกษารัฐใช้สีน้ำเงิน สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
(๓) กางเกง ผ้าสีดำ สีน้ำเงิน สีกรมท่าหรือสีกากี แบบสุภาพ ขาสั้น
(๔) เข็มขัด หนังสีดำ หรือสีน้ำตาล หัวเข็มขัดเป็นโลหะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าชนิดหัวกลัด
(๕) รองเท้า หนังหรือผ้าใบ สีดำหรือสีน้ำตาล แบบหุ้มส้นชนิดผูก
(๖) ถุงเท้า สั้น สีขาวหรือสีน้ำตาล
นักเรียนหญิง
(๑) เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต แขนสั้น
(๒) เครื่องหมาย ใช้ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวาบนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม โดยสถานศึกษารัฐใช้สีน้ำเงิน สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
(๓) กระโปรง ผ้าสีดำหรือสีกรมท่า แบบสุภาพ พับเป็นจีบข้างละสามจีบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อสวมแล้วชายกระโปรงคลุมเข่า
(๔) เข็มขัด หนังหรือผ้า สีดำ หัวเข็มขัดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ชนิดหัวกลัด หุ้มด้วยหนังหรือผ้าสีเดียวกับเข็มขัด
(๕) รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีดำ แบบหุ้มส้นหุ้มปลายเท้า มีสายรัดหลังเท้า
(๖) ถุงเท้า สั้น สีขาว

ข้อ ๑๐  เครื่องแบบนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทอาชีพและระดับอุดมศึกษา ระดับต่ำกว่าปริญญา
นักเรียนชาย
(๑) เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ตผูกเนคไท แขนสั้นหรือแขนยาว
(๒) เครื่องหมาย ติดเข็มเครื่องหมายของสถานศึกษาที่อกเสื้อเบื้องขวา
(๓) กางเกง ผ้าสีดำหรือสีกรมท่า แบบสุภาพ ขายาว
(๔) เข็มขัด หนังสีดำ หัวเข็มขัดเป็นโลหะตราของสถานศึกษา
(๕) รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีดำ แบบหุ้มส้น ชนิดผูก
(๖) ถุงเท้า สั้น สีดำ
นักเรียนหญิง
(๑) เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต แขนสั้นหรือแขนยาว
(๒) เครื่องหมาย ติดเข็มเครื่องหมายของสถานศึกษาที่อกเสื้อเบื้องขวา
(๓) กระโปรง ผ้าสีดำหรือสีกรมท่า แบบสุภาพ เมื่อสวมแล้วชายกระโปรงคลุมเข่า
(๔) เข็มขัด หนังสีดำ หัวเข็มขัดเป็นโลหะตราของสถานศึกษา
(๕) รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีดำ แบบหุ้มส้นหุ้มปลายเท้า มีส้นสูง ไม่เกิน ๒ นิ้ว

ข้อ ๑๑  เครื่องแบบนักเรียนสำหรับสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
นักเรียนชาย
(๑) เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต แขนสั้น หรือแขนยาว
(๒) เครื่องหมาย ใช้ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวาบนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหมสีแดง
(๓) หมวก ใช้หมวกสีขาว (กะปิเยาะห์) หรือหมวกสีดำ (ซอเกาะห์) ในโอกาสอันสมควร
(๔) กางเกง ผ้าสีดำ สีน้ำเงินหรือสีกรมท่า แบบสุภาพ ขายาว
(๕) เข็มขัด หนังสีดำ หัวเข็มขัดเป็นโลหะชนิดหัวกลัดหรือหัวเข็มขัดเป็นตราของสถานศึกษา
(๖) รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีดำ แบบหุ้มส้น
(๗) ถุงเท้า สั้น สีดำ
นักเรียนหญิง
(๑) เสื้อ กุรงสีพื้น ไม่มีลวดลาย แบบคอกลมไม่มีปก
(๒) เครื่องหมาย ใช้ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวาและที่ผ้าคลุมศีรษะ บนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหมสีแดง
(๓) ผ้าคลุมศีรษะ ผ้าสีพื้นไม่มีลวดลาย ลักษณะเย็บเป็นถุง หรือตัดเย็บในลักษณะอื่นซึ่งต้องคลุมศีรษะทั้งหมด เว้นใบหน้า ชายผ้าคลุมศีรษะคลุมไหล่
(๔) กระโปรงหรือโสร่ง
กระโปรง ผ้าสีพื้นไม่มีลวดลาย แบบทรงปลายบาน ไม่มีจีบหรือมีจีบหรือเกล็ดความยาว เมื่อสวมแล้วชายกระโปรงคลุมข้อเท้า
โสร่ง มีลักษณะเช่นเดียวกับผ้าถุงหรือผ้าโสร่งทั่วไป เป็นผ้าสีพื้นไม่มีลวดลายขนาดกว้างพอเหมาะ ไม่ผ่าข้างหรือรัดรูป เมื่อสวมแล้วชายผ้าโสร่งคลุมข้อเท้า
(๕) รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีขาว แบบหุ้มส้นหุ้มปลายเท้า
(๖) ถุงเท้า สั้น สีขาว

ข้อ ๑๒  เครื่องแบบนักเรียนซึ่งนับถือศาสนาอิสลามในสถานศึกษาอื่น นอกจากสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
นักเรียนชาย
(๑) เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต แขนสั้น
(๒) เครื่องหมาย ใช้อักษรย่อ สัญลักษณ์หรือเข็มเครื่องหมายของสถานศึกษาตามที่สถานศึกษากำหนด ปักหรือติดที่อกเสื้อเบื้องขวา
(๓) กางเกง ใช้ผ้าสีเดียวกันกับสีผ้าของกางเกงนักเรียนทั่วไปที่ใช้ในสถานศึกษานั้นขายาวระดับตาตุ่ม ปลายขาพับเข้าด้านใน
(๔) เข็มขัด หนังสีดำหรือสีน้ำตาล หัวเข็มขัดเป็นโลหะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าชนิดหัวกลัด สำหรับผู้ที่เป็นลูกเสือจะใช้เข็มขัดลูกเสือแทนก็ได้ หรือหัวเข็มขัดเป็นตราของสถานศึกษา
(๕) รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีดำหรือสีน้ำตาล แบบหุ้มส้นชนิดผูก
(๖) ถุงเท้า สั้นสีขาว สีน้ำตาล หรือสีดำ
นักเรียนหญิง
(๑) เสื้อ ผ้าสีขาวคอปกบัว ผ่าด้านหน้าตลอด แขนยาว ปลายแขนจีบรูดมีสาบกว้างไม่เกิน ๕ เซนติเมตร ตัวเสื้อยาวคลุมสะโพก ไม่รัดรูป
(๒) เครื่องหมาย ใช้อักษรย่อ สัญลักษณ์หรือเข็มเครื่องหมายของสถานศึกษาตามที่สถานศึกษากำหนด ปักหรือติดที่อกเสื้อเบื้องขวาและที่ผ้าคลุมศีรษะ
(๓) ผ้าคลุมศีรษะ ใช้ผ้าสีขาวเกลี้ยงไม่มีลวดลาย หรือสีเดียวกันกับสีผ้าของกระโปรง สี่เหลี่ยมจัตุรัส ความยาวด้านละ ๑๐๐ - ๑๒๐ เซนติเมตร ขณะสวมใส่เย็บติดตลอดตั้งแต่ใต้คางจนถึงปลายมุมผ้า
(๔) กระโปรง ใช้ผ้าสีเดียวกันกับสีผ้าของกระโปรงนักเรียนทั่วไปที่ใช้ในสถานศึกษานั้น แบบสุภาพ พับเป็นจีบข้างละสามจีบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อสวมแล้วชายกระโปรงคลุมข้อเท้า
(๕) รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีดำ มีสายรัดหลังเท้าหรือแบบหุ้มส้น หุ้มปลายเท้ามีส้นสูงไม่เกิน ๒ นิ้ว ไม่มีลวดลาย
(๖) ถุงเท้า สั้นสีขาว ไม่มีลวดลาย ปลายถุงเท้าไม่พับ
นักเรียนซึ่งนับถือศาสนาอิสลามในสถานศึกษาอื่นนอกจากสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลาม อาจเลือกแต่งเครื่องแบบนักเรียนตามวรรคหนึ่งหรือตามแบบที่สถานศึกษากำหนดได้ตามความสมัครใจ

ข้อ ๑๓  ให้สถานศึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการแต่ง วิธีการ และเงื่อนไขในการแต่งเครื่องแบบนักเรียน ดังนี้
(๑) ชนิดและแบบของเครื่องแบบ รวมทั้งจัดทำรูปเครื่องแบบตามระเบียบนี้ไว้เป็นตัวอย่าง
(๒) เครื่องหมายของสถานศึกษา
การกำหนดรายละเอียดตามวรรคหนึ่ง ให้สถานศึกษาขอความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งหรือผู้กำกับดูแลสถานศึกษานั้น แล้วแต่กรณี และประกาศให้นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนทราบ

ข้อ ๑๔  สถานศึกษาใดมีความประสงค์จะขอใช้เครื่องแบบเป็นอย่างอื่นนอกจากที่กำหนดในระเบียบนี้ ให้ขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งหรือผู้กำกับดูแลสถานศึกษานั้นแล้วแต่กรณี

ข้อ ๑๕  สถานศึกษาใดจะกำหนดให้นักเรียนแต่งเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด นักศึกษาวิชาทหารหรือแต่งชุดพื้นเมือง ชุดไทย ชุดลำลอง ชุดฝึกงาน ชุดกีฬา ชุดนาฏศิลป์ หรือชุดอื่น ๆ แทนเครื่องแบบนักเรียนตามระเบียบนี้ในวันใด ให้เป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนดโดยคำนึงถึงความประหยัดและเหมาะสม

ข้อ ๑๖  ในกรณีมีเหตุจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษให้สถานศึกษาพิจารณายกเว้นหรือผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียนได้ตามความเหมาะสม

ข้อ ๑๗  นักเรียนซึ่งศึกษาในสถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้แต่งกายสุภาพ

ข้อ ๑๘  นักเรียนผู้ใดไม่แต่งเครื่องแบบนักเรียนโดยไม่ได้รับยกเว้นตามระเบียบนี้ให้สถานศึกษาพิจารณาลงโทษทางวินัยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาตามความเหมาะสม

ข้อ ๑๙  สถานศึกษาใดที่ใช้เครื่องแบบนักเรียนอยู่แล้วตามระเบียบเดิม หรือใช้เครื่องแบบเป็นอย่างอื่นโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้คงใช้ได้ต่อไป

ข้อ ๒๐  ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้


ประกาศ ณ วันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ศรีเมือง  เจริญศิริ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ




















การแต่งกายของเด็กนักเรียนไทยย © 2014 | Powered By Blogger

Distributed By Free Blogger Templates | Designed By Windroidclub